วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

130 พระธาตุพนม จำลองวังหน้า

พระธาตุพนม จำลองวังหน้า

พระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า)  มีวัดบวรสถานสุทธาวาส(วังหน้า) อยู่ในวังเหมือนกับวังหลวงที่มีวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือที่ปัจจุบันที่เรียกว่าวัดพระแก้ว  

สถานที่ตั้งของ พระราชวัง บวรสถานมงคล(วังหน้า)  และวัดบวรสถานสุทธาวาส(วังหน้า) ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ข้างสนามหลวงและมหาวิทยาลัย นาฎศิลป 

ปัจจุบันพระอุโบสถของ มีวัดบวรสถานสุทธาวาส(วังหน้า)  อยู่ภายใต้การดูและของกรมศิลปากร  ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เดิมพระอุโบสถฯ หลังนี้สร้างขึ้นอยู่ในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส เรียกกันเป็นสามัญว่า "วัดพระแก้ววังหน้า" สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างขึ้นเป็นพระอุโบสถ  เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ  เช่นเดียวกับพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม   พระอุโบสถหลังนี้เป็นหลังคาจัตุรมุข

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า อยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะให้พระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ก่อฐานชุกชี  ตั้งบุษบกขึ้นกลางห้อง พร้อมทั้งเขียนฝาผนัง เรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ขึ้น  แต่ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน   จึงไม่ได้ย้ายพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ตามพระราชดำริเดิม

สิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพบูชา มีอยู่ด้วยกัน 2 สิ่ง คือ พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอุโบสถ และองค์พระพิฆเนศวร

ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชม  เพราะพระอุโบสถตั้งอยู่ใจกลางวิทยาลัยนาฏศิลป์ และไม่มีผู้ดูแลจึงถูกปิดไว้ โดยกรมศิลปากร


ภาพที่ 1 ถึง ภาพที่ 3 รูป  
พระอุโบสถของ มีวัดบวรสถานสุทธาวาส(วังหน้า) ในปัจจุบัน

 ภาพที่ 4 ภาพ  
พระอุโบสถของ วัดบวรสถานสุทธาวาส(วังหน้า) ในอดีต

 ภาพที่ 5 รูป 
พระธาตุพนมจำลอง ตั้งอยู่ข้างพระอุโบสถของ วัดบวรสถานสุทธาวาส(วังหน้า) ในอดีต(กรอบสีเหลือง) ในรูปตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ซึ่งได้พังลงมาเมื่อปี พ.ศ.2503  และได้รื้อออก  ทำให้ไม่มีหลักฐานของตัวเจดีย์พระธาตุพนมจำลองให้ได้เห็นในปัจจุบัน  แต่ยังโชคดีที่มีรูปใบนี้เป็นหลักฐานการยืนยันว่าพระธาตุพนมจำลองที่วังหน้า มีจริง  ไม่ใช่เอาพระของวังหน้าไปเที่ยวยัดว่าเป็นกรุของพระธาตุพนมจังหวัดนครพนม

 
ภาพที่ 6 รูป
พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม  นำมาให้ชมเพื่อให้เห็นภาพว่าคล้ายกันมาก  เนื่องจากวัดบวรสถานสุทธาวาส(วังหน้า)ในอดีตได้มีพระธาตุพนมจำลองอยู่ด้านข้างอุโบสถดังรูปที่ 5 

ภาพที่ 7 - 8  
พระพิมพ์หลวงปู่ทวด(วังหน้า) กรุพระธาตุพนม ที่อธิฐานจิตโดยหลวงปู่พระเทพโลกอุดร 5 พระองค์  เจดีย์ที่เห็นในรูปที่ 7 เป็นเจดีย์พระธาตุพนมจำลองของวังหน้า  ซึ่งพระพิมพ์นี้ทางวัดหนึ่งทางภาคใต้ได้นำพิมพ์พระนี้ของกรุวังหน้าไปใช้ เป็นแม่พิมพ์

 ภาพที่ 9  ด้านหลังพระองค์นี้เป็นรูปจำลองของพระธาตุพนม(วังหน้า)

 ภาพที่ 10 - 10  ด้านหลังของพระพิมพ์สี่เหลี่ยมหากสืบค้นในเว็ปต่างๆจะพบเห็นมีมากมาย  ล้วนแล้วแต่อ้างอิงว่าเป็นพระเครื่องที่สมเด็จโต(ขรัวโต)สร้าง พ.ศ.2401 กลับกลายเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้คนเข้าใจกันผิด ทั้งๆที่จริงแล้วเป็นพระเครื่องของวังหน้าที่สร้างในวาระที่เฉลิมฉลองสร้าง พระธาตุพนมจำลองของวังหน้า


เพิ่มเติมข้อมมูลวันที่ 25/12/2555

ผู้ใดโปรดให้สร้าง วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือที่เรียกว่า วัดพระแก้ววังหน้า?
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ หรือ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2328 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375)

สมเด็จพระบวรราชเจ้าโปรดให้สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือที่เรียกว่า วัดพระแก้ววังหน้า นอกจากนี้ยังทรงสร้างวัดบวรนิเวศวิหาร โปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ล่องแพมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2372 อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การก่อสร้างวัดบวรนิเวศวิหารยังไม่เสร็จสิ้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพก็สวรรคตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375


ภาพที่ 11
ภาพปกหนังสือ
 นำชมกรุงรัตนโกสินทร์
สมุดภาพสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์คณะกรรมการการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสิน 200 ปี
จัดพิมพ์เป็นที่ระรึกเนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสิน 200 ปี
พุทธศักราช 2525 
หนังสือนำชมกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นหนังสือและ สมุดภาพที่ได้รวบรวมเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในกรุงรัตนโกสินทร์ อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ในด้านต่างๆ จัดพิมพ์ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี  

ภาพที่ 12 รูปภาพ
พระอุโบสถวัดบวรสถานสุธาวาส จากหนังสือ
 นำชมกรุงรัตนโกสินทร์
สมุดภาพสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์คณะกรรมการการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสิน 200 ปี
จัดพิมพ์เป็นที่ระรึกเนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสิน 200 ปี
พุทธศักราช 2525 
อ้างอิงจากหน้า 103

ภาพที่ 13 ใต้ภาพจารึกข้อความอธิบาย
พระอุโบสถวัดบวรสถานสุธาวาส(วัดพระแก้ววังหน้า)ด้านทิศเหนือ ตามลักษณะที่ปรากฏในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพ 
ทางด้านขวาของภาพจะมองเห็นเจดีย์พระธาตุพนมจำลองที่ทรงโปรดให้ถ่ายแบบสร้างไว้


Ubosot, Wat Bowonsathan Sutthawat in the time of the Prince of the Palace to the Front Maha Sakphonlasep. 
On the right of the picture appears the imitation of Phratat Phanom.

สรุป  
พระธาตุพนมจำลองวังหน้า มีจริง  จากเอกสารประกอบภาพของหนังสือนำชมกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นหนังสือและ สมุดภาพที่ได้รวบรวมเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในกรุงรัตนโกสินทร์ อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ในด้านต่างๆ จัดพิมพ์ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี  พ.ศ.2525  

เป็นภาพที่พิมพ์ขึ้นก่อนที่จะมีการทำเรียนแบบพระกรุวังหน้า รวมถึงพระกรุพระธาตุพนมในภายหลัง

พระกรุพระธาตุพนม มีจริง  แต่ของปลอมมีมากกว่า คนที่ศึกษาไม่ถึงแก่นแท้ของประวัติศาสตร์ก็จะกล่าวเฉพาะข้อมูลที่ตนเองมี  ของจริงก็คือของจริง จะให้เป็นของปลอมย่อมเป็นไปไม่ได้ และถ้าเป็นของปลอมทำยังไงก็เป็นของปลอม ไม่สามารถเป็นของจริงไปได้

พระเครื่องที่มีคำจารึก พระธาตุพนม หมายถึง พระธาตุพนมจำลองของวังหน้าที่อยู่ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถวัดบวรสถานสุธาวาส(วัดพระแก้ววังหน้า)ในอดีต  ไม่ใช่พระธาตุพนมที่อยู่ที่จังหวัดนครพนม